กำหนดการสำคัญ
ประกาศด้านบทความ | 1 พ.ค. 2563 | |
เปิดรับบทความฉบับสมบูรณ์ | 1 พ.ค. 2563 | |
หมดเขตรับบทความฉบับสมบูรณ์ | 1 พ.ค. - 31 ก.ค. 2563 | |
ช่วงพิจารณาบทความ | 1 - 31 ส.ค. 2563 | |
แจ้งผลการพิจารณาบทความ | 1 ก.ย. 2563 | |
นำเสนอบทความ | 22 ก.ย. 2563 |
ขอบเขตและหัวข้อบทความ
ขอบเขตและหัวข้อบทความประกอบด้วยเนื้อหาวิชาการที่เกี่ยวข้องในด้านการส่งเสริม และพัฒนาธุรกิจพลังงานไฟฟ้า การตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า และการร่วมสร้างคุณค่าคู่สังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยจะต้องครอบคลุมหัวข้อใน 4 ด้าน คือ Keep Improving Existing Business, Enhance New Business, Employ Innovation and Technology and Nourish Human Resource ดังต่อไปนี้
- Keep Improving Existing Business สานงานเดิม: ขอบเขตของบทความประกอบด้วยเนื้อหาวิชาการเกี่ยวกับการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์องค์กร และสานต่อนโยบายเดิมเพื่อความต่อเนื่องในการดำเนินงาน ด้วยการพัฒนาระบบไฟฟ้าและพัฒนาองค์กรเพื่อให้ธุรกิจหลักของ PEA แข็งแกร่ง สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย
(1) Grid Excellence ยกระดับมาตรฐานและปรับปรุงระบบ ไฟฟ้าให้มีความมั่นคง ปลอดภัยครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อรองรับการเชื่อมโยงจากบุคคลที่สาม (Third Party Access) และการผลิตไฟฟ้ารูปแบบต่างๆ รวมถึง Prosumer พร้อมทั้งเร่งรัดพัฒนาระบบไฟฟ้าใต้ดินและระบบไฟฟ้าอัจฉริยะสำหรับพื้นที่สำคัญ
(2) Smart Service พัฒนาระบบงาน เพิ่มความพึงพอใจ สร้างความผูกพันของลูกค้า มุ่งเน้นบริการที่เป็นเลิศ รวดเร็ว มีมาตรฐาน โดยมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ ทันสมัย และสร้างทีมงานมืออาชีพ พัฒนาระบบการตลาดแบบบูรณาการ การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ และการบริหารประสบการณ์ลูกค้า
(3) Smart Operation เพิ่มประสิทธิภาพองค์กร ปรับปรุง ระเบียบ หลักเกณฑ์ พัฒนากระบวนงานให้ชัดเจน ลดขั้นตอน เพื่อความรวดเร็วในการบริการและรองรับธุรกิจใหม่ พัฒนางานบริการลูกค้าโดยนำเทคโนโลยีมาช่วยในการดำเนินงาน - Enhance New Business เสริมธุรกิจใหม่: ขอบเขตของบทความประกอบด้วยเนื้อหาวิชาการเกี่ยวกับการเร่งรัดพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับภารกิจหลัก ขยายขอบเขต การดำเนินงานไปสู่ธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตได้ดี โดยดำเนินการเอง หรือร่วมลงทุนกับพันธมิตรทางธุรกิจผ่านบริษัทในเครือของ PEA ประกอบด้วย
(1) Upstream Expansion ขยายการลงทุนไปสู่ธุรกิจต้นน้ำ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไฟฟ้า และขยายธุรกิจไปสู่ต่างประเทศและแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ รวมถึงการเตรียมการ เพื่อรองรับ Disruptive technology
(2) PEA Product พัฒนาธุรกิจจากความเชี่ยวชาญ เช่น การก่อสร้างและบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า พัฒนาธุรกิจใหม่จากการใช้งาน และความต้องการภายในองค์กรผลักดันสู่ภายนอก เช่น ธุรกิจ ยานยนต์ไฟฟ้า เผยแพร่มาตรฐาน PEA Standard และ PEA Product ให้เป็นที่ยอมรับในภูมิภาค
(3) Behind Meter ขยายการให้บริการไปสู่ธุรกิจหลังมิเตอร์ เพื่อให้บริการด้านพลังงานแบบครบวงจรด้วยระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ และระบบสื่อสารของ PEA พัฒนา Platform การให้บริการที่ สะดวก รวดเร็ว ทันสมัยและเข้าถึงง่าย - Employ Innovation and Technology ใช้นวัตกรรม: ขอบเขตของบทความประกอบด้วยเนื้อหาวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนากระบวนงานต่างๆ โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้วยการใช้สินทรัพย์ที่มีให้ เกิดประโยชน์สูงสุด และรองรับธุรกิจที่จะเกิดใหม่ ประกอบด้วย
(1) Innovative Process พัฒนากระบวนการดำเนินงานที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารองค์กร และบริหารโครงการ เปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในการผลิตไฟฟ้าและระบบไฟฟ้า พัฒนาระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าสำรองในพื้นที่พิเศษ และเพิ่มช่องทางการจัดหาแหล่งทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
(2) Digital Revolution พัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลโดยการเชื่อมโยงฐานข้อมูลระบบงานและเครื่องวัดต่างๆ เข้าด้วยกัน (Big Data) แล้วนำมาวิเคราะห์ในเชิงลึก (Data Analytic and AI) รวมถึงนำเทคโนโลยี Blockchain มาประยุกต์ใช้ในงาน เช่น PEA Energy Trading Platform
(3) Smart Utilization เร่งรัดพัฒนาการบริหารสินทรัพย์ระบบไฟฟ้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ระบบการติดตามประเมินการบำรุงรักษาอุปกรณ์หลัก (Condition Based Maintenance) ใช้นวัตกรรมพัฒนากระบวนงาน พัฒนาระบบ Smart Patrol
- Nourish Human Resource หนุนนำทุนมนุษย์: ขอบเขตของบทความประกอบด้วยเนื้อหาวิชาการเกี่ยวกับการสร้างระบบและกลไกเพื่อนำศักยภาพของพนักงานมาใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร พัฒนาทักษะพนักงานด้านความรู้ (Hard Skills) และด้านอารมณ์ (Soft Skills) ส่งเสริมการสร้างและขยายผล การใช้งานนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ และสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรให้มี Productivity สูงขึ้น ประกอบด้วย
(1) Smart Workforce สร้างระบบการพัฒนาขีดความสามารถบุคลากรให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และรองรับธุรกิจใหม่ ประยุกต์ใช้การประเมินผลจากเป้าประสงค์ (Objective Key Result: OKR) และสร้างระบบการบริหารจัดการคนเก่ง (Talent Management) สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ จัดตั้งระบบคลังนวัตกรรม (PEA Innovation Tank)
(2) Smart Workplace สร้างสภาพแวดล้อมการทำงาน มุ่งสู่องค์กรแห่งความสุข สร้างบรรยากาศให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม มีการแลกเปลี่ยนและจุดประกายความคิดใหม่ในการทำงาน ริเริ่มระบบการหมุนเวียนการทำงานในระดับปฏิบัติการ
(3) Smart Enterprise ปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อมุ่งสู่องค์กรสมรรถนะสูง มีแผนงานรองรับการเปลี่ยนแปลง กระจายอำนาจการบริหารสู่พื้นที่ ส่งเสริมกระบวนการจัดการความรู้ สร้างระบบงานรองรับการพัฒนาและดำเนินธุรกิจเกี่ยวเนื่อง
(4) Smart CSV ปรับเปลี่ยนการดำเนินงานไปสู่การร่วมสร้างคุณค่าสู่สังคม (Creative Share Value: CSV) โดยปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจให้ตรงกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มุ่งเน้นการปรับตัวเข้าสู่การเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน
(5) Good Governance ดำเนินธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้ และส่งเสริมการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสร้างกระบวนการติดตามและประเมินผลส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ซึ่งผู้ส่งบทความสามารถส่งได้ทั้งบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยผู้ส่งบทความด้วยภาษาอังกฤษ ให้นำเสนอบทความเป็นภาษาอังกฤษ
รูปแบบของบทความ
การส่งบทความฉบับสมบูรณ์ ขอให้ผู้สนใจจัดทำตามรูปแบบที่กำหนด โดยท่านสามารถดาวน์โหลดรูปแบบบทคัดย่อได้จากลิงค์ต่อไปนี้
- แม่แบบบทความฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) สำหรับงานประชุมวิชาการ กฟภ. ปี 2563 (MS Word)
- PEA Conference 2020 Full Paper Form (MS Word)
- แม่แบบบทบทความฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) สำหรับงานประชุมวิชาการ กฟภ. ปี 2563 (รูปแบบที่ 2 ไม่ต้องระบุชื่อ-นามสกุล)
- PEA Conference 2020 Full Paper Form (Anonymous Form)
ซึ่งผู้ส่งบทความสามารถส่งได้ทั้งบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยผู้ส่งบทความด้วยภาษาอังกฤษ ให้นำเสนอบทความเป็นภาษาอังกฤษ